Road Map ทักษะในการเป็นผู้นำ

roadmap

Road Map ทักษะในการเป็นผู้นำ

เมื่อสมัยโบราณย้อนไปในยุคที่ยังไม่มีเทคโนโลยี ในการเดินทางไกลแต่ละครั้ง บรรพบุรุษเรามักใช้เข็มทิศในการเดินทางเสมอเพื่อไม่ให้พวกเขาต้องหลงทาง แต่ทุกวันนี้เทคโนโลยีก้าวไกลมากขึ้น หากเราป้องเพื่อไม่ให้หลงทางคนส่วนใหญ่มักมี GPS ติดรถ หรือ Google Map ในมือถือไว้ติดตัวเสมอเพื่อให้ถึงเป้าหมายมากขึ้น มิฉะนั้นแล้วเราก็จะหลงทาง ซิ่งถ้าหากเราไม่รู้เส้นทางที่จะไป หากหลงทางก็ต้องถามคนที่ผ่านไปผ่านมาในระหว่างทาง ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะรู้ถึงเส้นทางที่เราจะไปหรือไม่

ในการวางแผนชีวิตและแผนการงานเราก็เช่นกัน ถ้าในสมัยก่อนการเดินทางยังต้องอาศัยเข็มทิศแล้วในการวางแผนการเดินทาง ทำไมเราถึงไม่ทำแผนการเดินทางของชีวิตเราล่ะ ? คุณเคยวาดแผนที่ชีวิตคุณเล่น ๆ ตั้งแต่เกิดจนถึงวันนี้หรือเปล่าว่ามีเส้นทางอย่างไร เส้นทางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันใช่เส้นทางที่คุณวาดฝันไว้หรือเปล่า คุณได้เขียนไว้หรือเปล่า หรือว่าเราไม่เคยได้ใส่ใจที่จะเขียนมันขึ้นมาเลย

……………………………….

“วิสัยทัศน์และแผนการในอาชีพของคุณจะเป็นของคุณ
การมีแผนงานช่วยนำทางคุณไปสู่จุดหมาย
ความมั่นใจและความมุ่งมั่นจะนำคุณไปสู่เส้นทางที่ถูกต้อง
ทีมงานของคุณคือยานพาหนะที่จะพาคุณไปสู่จุดสูงสุด”
อาจารย์ วีณา อรัญญเกษม

……………………………….

คุณเชื่อหรือเปล่าว่าหากคุณสามารถวาด Road-map ที่ดีได้ สิ่งนี้จะทำนายชีวิตคุณได้แม่นยำยิ่งกว่ากว่าหมอดู ?

……………………………….

แล้วเจ้า Road-map หรือแผนที่ชีวิตคืออะไร ?

แผนที่ชีวิตคือ การวาดเส้นทางชีวิตที่เราต้องการเพื่อเตือนตัวเองไม่ให้เดินนอกกรอบและสามารถไปถึงเป้าหมายได้อย่างที่ต้องการ ในการใช้ชีวิตเราก็มีการวางแผนชีวิต ส่วนในการทำงานนั้นก็ยิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องวางแผนการงานของเราเพื่อให้เราสามารถทำงานได้อย่างถูกเส้นทางอย่างที่เราคาดหวังเอาไว้

แผนงาน หรือ Road-map เป็นวิธีการเชิงกลยุทธ์ในการเชื่อมกลยุทธ์ทางธุรกิจเข้ากับองค์ประกอบส่วนต่างๆขององค์กรให้สามารถขับเคลื่อนไปสู่การบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ แผนที่นำทาง หรือโร้ดแมป (Road-map) เป็นวิธีการเชิงกลยุทธ์ในการเชื่อมกลยุทธ์ทางธุรกิจเข้ากับองค์ประกอบส่วนต่างๆขององค์กรให้สามารถขับเคลื่อนไปสู่การบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ โดยจะต้องพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยสำคัญในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (ปัจจัยภายนอก) และสมรรถนะขององค์กรที่มีอยู่ แผนที่นำทางมีการนำมาใช้ได้หลายระดับชั้น (ระดับประเทศ ระดับอุตสาหกรรม ระดับสินค้าบริการ) หลายวัตถุประสงค์ หลายบริบท อาทิเช่น หากเป็นการมุ่งเน้นถึงเทคโนโลยี ซึ่งในปัจจุบันนับได้ว่าเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่ส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันของทุกองค์กร ก็จะเรียกแผนที่นำทางนั้นว่า แผนที่นำทางเทคโนโลยี (Technology Road-map) ซึ่งจะเน้นไปที่องค์ประกอบด้านเทคโนโลยีและทรัพยากรที่สนับสนุนต่อการวิจัยและพัฒนา (ปัจจัยภายใน) เป็นหลัก

ลักษณะของแผนที่นำทางจะประกอบด้วยปัจจัยประกอบที่ถูกจัดกลุ่มตามปัจจัยใน ออกสู่ปัจจัยภายนอก (ด้านบน) โดยถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในการทำแผนพัฒนาทั้งในระดับหน่วยงาน องค์กร และอุตสาหกรรมโดยมีวัตถุประสงค์/ประโยชน์ต่าง ๆ ได้แก่

1. การเชื่อมโยงกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business strategy) และกลยุทธ์ด้านอื่นเข้าด้วยกัน ส่งผลให้การพัฒนาองค์กรสามารถดำเนินควบคู่กันไปในทิศทางเดียวกันในทุกส่วน
2. การทำแผนที่นำทางการช่วยให้องค์กรพิจารณาถึงจุดแข็งและให้ความสำคัญในการวางแผนที่จะพัฒนาเสริมสร้างความสามารถให้เหนือกว่าคู่แข่งได้
3. การมุ่งเน้นถึงลำดับความสำคัญและความต่อเนื่องขององค์ประกอบหรือแผน ทำให้องค์กรสามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ
4. แผนที่นำทางช่วยผู้บริหารให้มองเห็นภาพรวมขององค์กรได้ชัดเจน เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน การกำหนดทิศทาง และการตัดสินใจ
5. เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรให้เข้าใจได้ตรงกัน
6. กระบวนการทำแผนที่นำทางสามารถระบุถึงศักยภาพในการนทรัพยากรที่มีอยู่เดิมกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) ช่วยให้องค์กรสามารถควบคุมต้นทุนได้เป็นอย่างดี
7. การส่งเสริมการมีส่วนร่วม (participation) และความรู้สึกเป็นเจ้าของ (ownership) ของพนักงานในโครงการต่าง ๆ

……………………………….

หนึ่งในทักษะการเป็นผู้นำที่ดีนั้น คุณต้องรู้จักการกำหนด Road-map ที่ดี ไม่ว่าจะเป็นชีวิตของคุณเอง หรือแผนงานให้กับทีม แผนงานให้กับองค์กร เพราะคุณต้องรู้เส้นทางและทิศทางได้ดีกว่าคนอื่น และคุณจะต้องสามารถที่จะชี้นำเส้นทางให้กับคนอื่น ๆ ได้เสมอ เพราะคุณคือผู้นำในระดับ TO THE TOP CLUB 🙂 แล้วเรามาฝึกและเรียนรู้ไปพร้อมกันนะคะ

หากมีข้อสงสัย ปัญหา คำแนะนำเพิ่มเติม อย่าลืมคอมเมนต์มาได้ล่างนะคะ ขอบคุณมากมายค่ะ 🙂

TO THE TOP CLUB
https://www.facebook.com/influentialleaderclub/

Scroll to Top