Life Value อะไรที่ทำให้ชีวิตมีคุณค่า

Life Value

อะไรที่ทำให้ชีวิตมีคุณค่า

Life Value สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ล้วนมีคุณค่าด้วยกันทั้งนั้น แต่ว่าไม่ใช่ว่าสิ่งมีชีวิตทุกคนจะสามารถมองเห็นคุณค่าของตัวเอง มองเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่  หรือ คุณค่าของชีวิตนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนส่วนมากที่มีปัญหาชีวิต หลายคนกำลังคิดฆ่าตัวตาย หลายคนกำลังหมดกำลังใจ เป็นเพราะพวกเขาเหล่านั้นมองไม่เห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ ทำให้ในใจนั้นรู้สึกหดหู่ ทำให้หัวใจรู้สึกเศร้าหมอง จิตใจไม่เบิกบาน

ชิพ คอนลี เป็นเจ้าของกิจการโรงแรม ช่วงที่ฟองสบู่แตก เขาได้มุ่งหน้าแสวงหาโมเดลธุรกิจที่มีพื้นฐานบนความสุข ด้วยมิตรภาพเก่าแก่ของเขากับลูกจ้างคนหนึ่ง และจากปรัชญาของกษัตริย์ของภูฎาน ชิพได้เรียนรู้ว่าความสำเร็จที่แท้ ขึ้นอยู่กับว่าคุณให้คุณค่ากับอะไร

ด้วยอุดมคติของคนหนุ่มอายุ 26 ปี ในปี 1987 เขาได้จัดตั้งบริษัทของตัวเอง และให้ชื่อว่า Joie de Vivre (ความสุขแห่งชีวิต) ซึ่งเขายอมรับว่ามันอาจจะเป็นชื่อที่ดูเพื้อฝัน นั่นเป็นเพราะเขาได้ตั้งใจที่จะสร้างความสุขแห่งชีวิต และโรงแรมแห่งแรกที่เขาซื้อนั้น เป็นโรงแรมรายชั่วโมงแบบที่เข้าพักแล้วไม่ควรให้ใครรู้ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองซานฟรานซิสโก เมื่อเขาได้ทำงานกับวิเวียน เขาก็เห็นว่าเธอเป็นคนที่มีความสุขในชีวิต

ตลอดเวลาที่เธอทำงาน ทำให้เขาตั้งคำถามและอยากรู้ว่า คนเราจะหาความสุข จากการล้างห้องน้ำเพื่อหาเลี้ยงชีพได้ยังไง เขาก็เลยใช้เวลาสังเกตวิเวียน และพบว่า เธอไม่ได้หาความสุขจากการขัดห้องน้ำ งานของเธอ เป้าหมาย และความมุ่งมั่นของเธอ ไม่ได้ต้องการเป็นคนขัดห้องน้ำมือหนึ่งของโลก สิ่งที่มีคุณค่าสำหรับวิเวียน คือความผูกพันทางใจ ที่เธอสร้างขึ้นกับเพื่อนร่วมงานและแขกที่มาพัก และสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจและความหมายในชีวิตให้เธอ ก็คือความจริงที่ว่า ที่จริงแล้ว เธอกำลังดูแลผู้คน ที่ต้องอยู่ไกลบ้าน เพราะวิเวียนรู้ดีว่าการต้องอยู่ไกลบ้านมันเป็นยังไง

บทเรียนที่ลึกซึ้งถึงความเป็นมนุษย์ ที่เขาได้รับเมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้ว ช่วยเขาได้มากในช่วง ที่เผชิญภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งล่าสุด จากผลของฟองสบู่ดอทคอมแตก และเหตุการณ์ 9/11 โรงแรมแถบเบย์ แอเรีย ในซานฟรานซิสโก ประสบปัญหารายได้ตกต่ำครั้งที่ใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ของวงการโรงแรมในอเมริกา ซึ่งบริษัทเขาเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สุดในแถบเบย์ แอเรีย เขาก็เสี่ยงที่จะเสียหายมากกว่าคนอื่นอยู่แล้ว

ยังไม่พอ ย้อนกลับไปตอนนั้น ที่ในอเมริกาเราเลิกกินเฟรนช์ฟรายส์ (French fries) คือไม่เชิงว่าเลิก แต่เขาเปลี่ยนชื่อมันเป็น “ฟรีดอม ฟรายส์” (freedom fries) และเขาก็เริ่มคว่ำบาตรอะไรก็ตามที่เป็นของฝรั่งเศส ด้วยเหตุที่บริษัทของเขาชื่อ Joie de Vivre เลยมีผลกระทบไปด้วย เขาได้รับจดหมาย จากที่ต่างๆ อย่างอลาบามา ออเรนจ์เคาน์ตี้ บอกว่าเขาจะคว่ำบาตรบริษัทของเขา เพราะเขาคิดว่าเราเป็นบริษัทฝรั่งเศส

ในช่วงที่เขาจิตตก เขาได้บังเอิญไปอ่านหนังสือของ เอบราเฮม มาสโลว์อีกครั้ง ซึ่งหลายคนอาจจะคุ้นในแนวคิดในเรื่อง “ลำดับความต้องการ” และนั่นทำให้เขาได้บทสรุปที่ว่า สิ่งที่เป็นเรื่องจริงสำหรับผู้นำส่วนใหญ่ และเป็นหนึ่งในข้อเท็จจริงที่ง่ายที่สุดในการทำธุรกิจ ที่เรามักละเลย นั่นคือ เราทุกคนล้วนเป็นมนุษย์ และเราแต่ละคน ไม่ว่าจะมีบทบาทอะไรในธุรกิจ ล้วนมีลำดับขั้นความต้องการในระดับต่างๆ กัน ในที่ทำงาน

และเขาก็ได้นำแนวคิดของมาสโลว์มาปรับใช้กับงานอีกครั้ง เมื่อเขาเอาพีระมิดลำดับขั้นความต้องการที่มีห้าขั้น มาดัดแปลงเป็นสิ่งที่เขาเรียกว่าพีระมิดของการปฏิรูปตัวเอง ซึ่งประกอบไปด้วยการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ความสำเร็จ และการปฏิรูปตัวเอง มันไม่ใช่แค่พื้นฐานในธุรกิจ แต่มันเป็นพื้นฐานของชีวิต และเขาก็เริ่มถามตัวเองจริงๆ ว่าตอนนี้เขากำลังทำอะไรเพื่อตอบสนอง ต่อความต้องการในขั้นที่สูงขึ้นไป ความต้องการที่จะปฏิรูป ของพนักงานคนสำคัญของบริษัท ลำดับขั้นของความต้องการสามขั้นนี้ ก็ยังเกี่ยวเนื่องกับห้าขั้น ในลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์

แต่เมื่อเขาเริ่มถามตัวเองว่าเราตอบสนองความต้องการ ขั้นที่สูงกว่าของพนักงานและลูกค้าของเราอย่างไร เขาถึงเพิ่งรู้ตัวว่าเขาไม่มีระบบการวัดสิ่งเหล่านี้เลย เขาไม่มีข้อมูลอะไรเลยที่สามารถบอกได้ว่าเรากำลังทำสิ่งที่ถูกหรือเปล่า ทางบริษัทจึงเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า วิธีวัดแบบไหนที่จะดูกลมกลืน แต่สามารถใช้ประเมิน ว่าพนักงานของเขารู้สึกว่างานมีความหมายมากแค่ไหน ว่าลูกค้าของเขามีความผูกพันทางใจกับบริษัทเขาแค่ไหน

เช่น เขาเริ่มถามพนักงานของเขาว่า เขาเข้าใจพันธะกิจหรือเป้าหมายของบริษัทเขาไหม แล้วเขาเชื่อในพันธกิจหรือเป้าหมายนั้นไหม เขามีส่วนในการกำหนดเป้าหมายนั้นหรือเปล่า และเขารู้สึกว่างานที่เขาทำมีส่วนส่งเสริมเป้าหมายนั้นหรือไม่ แล้วเขาก็เริ่มถามลูกค้าของเราว่าเขารู้สึกผูกพันทางใจกับบริษัท ในด้านหนึ่งด้านใด จาก 7 ด้าน ต่างๆ กัน ราวกับปาฏิหาริย์ เมื่อเขาถามคำถามพวกนี้ และให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่บนพีระมิดขั้นสูงกว่า เขาพบว่าความจงรักภักดีต่อบริษัทเพิ่มมากขึ้น ความภักดีของลูกค้าพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว อัตราการลาออกของพนักงานลดลง เหลือแค่หนึ่งในสามของค่าเฉลี่ยการลาออกในธุรกิจโรงแรม และในระยะเวลาห้าปีของยุคที่ฟองสบู่ดอทคอมแตก กิจการของเราขยายตัวถึงสามเท่า

แต่เมื่อเขาได้ถามผู้นำคนอื่น ๆ ในแวดวงธุรกิจที่เขารู้จัก ว่าเขามีวิธีการจัดการ บริหารบริษัทพวกเขาอย่างไรในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ผลสำรวจที่ชี้ให้เห็นว่า 94 เปอร์เซ็นต์ ของผู้นำทางธุรกิจทั่วโลก เชื่อว่าสิ่งที่ไม่อาจจับต้องมองเห็นได้ด้วยตานั้นสำคัญมากในธุรกิจของเขา เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา วัฒนธรรมองค์กร และความจงรักภักดีต่อตราสินค้า แต่มีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำกลุ่ม ที่มีวิธีการวัดสิ่งที่ไม่อาจเห็นด้วยตาในธุรกิจของตัวเอง ในฐานะของผู้นำ เราเข้าใจว่า สิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเป็นสิ่งสำคัญ แต่เราไม่รู้เลยสักนิด ว่าเราจะวัดมันได้อย่างไร

ไอน์สไตน์กล่าวไว้ว่า “สิ่งที่นับได้ ก็ใช่จะมีค่าไปเสียทุกอย่าง และสิ่งที่มีค่า ก็ใช่จะนับได้เสียทุกอย่างเช่นกัน” เขาจึงพยายามหาคำตอบเพราะถ้าสิ่งที่เขาให้คุณค่าสูงสุด ในชีวิตและในธุรกิจของเขา ไม่สามารถนับหรือประเมินค่าได้จริงๆ มันจะไม่กลายเป็นว่า เขาต้องใช้ชีวิต จมอยู่กับการวัดอะไรที่ไร้ค่าน่าเบื่อตลอดไป

แล้วอะไรที่เป็นตัวชี้วัดสิ่งที่มีค่าที่สุดในชีวิต มาอ่านต่อพรุ่งนี้นะครับ 🙂

TO THE TOP CLUB
https://www.facebook.com/influentialleaderclub/

Scroll to Top